ข้อควรระวังในการเล่นน้ำทะเล
– เลือกเล่นน้ำในบริเวณที่ปลอดภัย ไม่เล่นน้ำบริเวณที่มีระดับน้ำลึก
บริเวณที่มีป้ายหรือธงสัญลักษณ์เตือนอันตราย
พร้อมปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่และป้ายเตือนอย่างเคร่งครัด
– ไม่เล่นน้ำในพื้นที่หรือช่วงเวลาเสี่ยงอันตราย โดยเฉพาะบริเวณที่มีร่องน้ำลึก มีโขดหินใต้น้ำ อีกทั้งไม่ลงเล่นน้ำในขณะหรือภายหลังฝนตก เพราะทะเลจะมีคลื่นสูงและซัดฝั่งรุนแรง พร้อมเพิ่มระมัดระวังในการเล่นน้ำบริเวณที่มีเครื่องเล่นทางน้ำ เช่น สกูตเตอร์ เรือยาง เจ็ตสกี เป็นต้น ทำให้เกิดอันตรายได้
– สวมใส่เสื้อชูชีพหรือใช้ห่วงยางที่ได้มาตรฐานทุกครั้งที่ลงเล่นน้ำ เพื่อป้องกันคลื่นซัดเสื้อชูชีพและห่วงยางหลุดออกจากตัว ทำให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ควรให้สวมใส่เสื้อชูชีพตลอดเวลาที่เล่นน้ำ และดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ไม่ให้เด็กเล่นน้ำหรืออยู่บริเวณชายหาดตามลำพัง หากเกิดเหตุฉุกเฉิน เด็กจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างปลอดภัย
– หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอันตรายในขณะเล่นน้ำ ไม่ลงเล่นน้ำตามลำพัง ห่างไกลจากกลุ่มคน ควรเล่นน้ำเป็นกลุ่ม เพราะหากเป็นตะคริวหรือเกิดเหตุฉุกเฉิน จะไม่สามารถช่วยเหลือได้ทันท่วงที ไม่ลงเล่นน้ำหลังรับประทานอาหารอิ่มในทันที รวมถึงไม่เล่นน้ำทะเลเป็นระยะเวลานาน เพราะอาจเป็นตะคริวหรือเกิดความอ่อนเพลีย ทำให้จมน้ำเสียชีวิตได้
ข้อควรระวังในการดำน้ำ
เลือกดำน้ำในพื้นที่และช่วงเวลาที่ปลอดภัย รวมถึงเป็นสถานที่ที่อนุญาตให้ดำน้ำไม่มีคลื่นลมแรง ใช้อุปกรณ์ดำน้ำที่เหมาะสมกับการใช้งาน ควรดำน้ำเป็นกลุ่ม ไม่ดำน้ำตามลำพัง หากเกิดอันตรายจะได้มีคนช่วยเหลือ ไม่ดำน้ำขึ้นลงอย่างรวดเร็ว เพราะจะทำให้เกิดภาวะน็อกน้ำทะเลหรือน้ำหนีบ ทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้
วิธีปฏิบัติตนกรณีถูกคลื่นน้ำทะเลดูด
– ห้ามว่ายน้ำทวนกระแสน้ำเข้าหาฝั่ง ให้ปล่อยตัวไปตามกระแสน้ำ โดยพยุงตัวลอยน้ำ พร้อมชูมือขึ้นเหนือน้ำ เพื่อขอความช่วยเหลือ เมื่อรู้สึกว่าไม่มีแรงดูดจากใต้น้ำแล้ว ให้ว่ายน้ำขนานไปกับแนวชายฝั่ง โดยว่ายน้ำไปตามทางของฟองคลื่นขาว เพราะบริเวณดังกล่าวมีระดับน้ำตื้นและเป็นจุดที่น้ำพัดเข้าหาฝั่ง คลื่นทะเลจะช่วยดันตัวเข้าหาฝั่ง
– การเรียนรู้การท่องเที่ยวทะเลอย่างปลอดภัย โดยตรวจสอบสภาพอากาศและสภาพพื้นที่ของทะเล ไม่เล่นน้ำทะเลบริเวณที่เป็นพื้นที่อันตราย รวมถึงเรียนรู้วิธีแก้เหตุฉุกเฉินอย่างถูกต้อง จะทำให้การท่องเที่ยวทะเลในช่วงฤดูร้อนเป็นไปด้วยความสนุกสนานและปลอดภัย
– ไม่เล่นน้ำในพื้นที่หรือช่วงเวลาเสี่ยงอันตราย โดยเฉพาะบริเวณที่มีร่องน้ำลึก มีโขดหินใต้น้ำ อีกทั้งไม่ลงเล่นน้ำในขณะหรือภายหลังฝนตก เพราะทะเลจะมีคลื่นสูงและซัดฝั่งรุนแรง พร้อมเพิ่มระมัดระวังในการเล่นน้ำบริเวณที่มีเครื่องเล่นทางน้ำ เช่น สกูตเตอร์ เรือยาง เจ็ตสกี เป็นต้น ทำให้เกิดอันตรายได้
– สวมใส่เสื้อชูชีพหรือใช้ห่วงยางที่ได้มาตรฐานทุกครั้งที่ลงเล่นน้ำ เพื่อป้องกันคลื่นซัดเสื้อชูชีพและห่วงยางหลุดออกจากตัว ทำให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ควรให้สวมใส่เสื้อชูชีพตลอดเวลาที่เล่นน้ำ และดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ไม่ให้เด็กเล่นน้ำหรืออยู่บริเวณชายหาดตามลำพัง หากเกิดเหตุฉุกเฉิน เด็กจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างปลอดภัย
– หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอันตรายในขณะเล่นน้ำ ไม่ลงเล่นน้ำตามลำพัง ห่างไกลจากกลุ่มคน ควรเล่นน้ำเป็นกลุ่ม เพราะหากเป็นตะคริวหรือเกิดเหตุฉุกเฉิน จะไม่สามารถช่วยเหลือได้ทันท่วงที ไม่ลงเล่นน้ำหลังรับประทานอาหารอิ่มในทันที รวมถึงไม่เล่นน้ำทะเลเป็นระยะเวลานาน เพราะอาจเป็นตะคริวหรือเกิดความอ่อนเพลีย ทำให้จมน้ำเสียชีวิตได้
ข้อควรระวังในการดำน้ำ
เลือกดำน้ำในพื้นที่และช่วงเวลาที่ปลอดภัย รวมถึงเป็นสถานที่ที่อนุญาตให้ดำน้ำไม่มีคลื่นลมแรง ใช้อุปกรณ์ดำน้ำที่เหมาะสมกับการใช้งาน ควรดำน้ำเป็นกลุ่ม ไม่ดำน้ำตามลำพัง หากเกิดอันตรายจะได้มีคนช่วยเหลือ ไม่ดำน้ำขึ้นลงอย่างรวดเร็ว เพราะจะทำให้เกิดภาวะน็อกน้ำทะเลหรือน้ำหนีบ ทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้
วิธีปฏิบัติตนกรณีถูกคลื่นน้ำทะเลดูด
– ห้ามว่ายน้ำทวนกระแสน้ำเข้าหาฝั่ง ให้ปล่อยตัวไปตามกระแสน้ำ โดยพยุงตัวลอยน้ำ พร้อมชูมือขึ้นเหนือน้ำ เพื่อขอความช่วยเหลือ เมื่อรู้สึกว่าไม่มีแรงดูดจากใต้น้ำแล้ว ให้ว่ายน้ำขนานไปกับแนวชายฝั่ง โดยว่ายน้ำไปตามทางของฟองคลื่นขาว เพราะบริเวณดังกล่าวมีระดับน้ำตื้นและเป็นจุดที่น้ำพัดเข้าหาฝั่ง คลื่นทะเลจะช่วยดันตัวเข้าหาฝั่ง
– การเรียนรู้การท่องเที่ยวทะเลอย่างปลอดภัย โดยตรวจสอบสภาพอากาศและสภาพพื้นที่ของทะเล ไม่เล่นน้ำทะเลบริเวณที่เป็นพื้นที่อันตราย รวมถึงเรียนรู้วิธีแก้เหตุฉุกเฉินอย่างถูกต้อง จะทำให้การท่องเที่ยวทะเลในช่วงฤดูร้อนเป็นไปด้วยความสนุกสนานและปลอดภัย